ในปัจจุบันพบว่าสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ มาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงเป็นอันดับ 2 เป็นรองเพียงแค่โรคมะเร็งเท่านั้น โรคหัวใจขาดเลือด มักจะพบในผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อคนเราอายุมากขึ้นจะมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ดังนั้น ลูกหลานอย่างพวกเราควรมาทำความรู้จักปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ รวมถึงติดตามวิธีป้องกันและรักษา เพื่อให้สูงวัยที่เรารักอยู่กับเราไปนาน ๆ 😊 โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย และหากหลอดเลือดแดงอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด มีดังนี้ 1. อายุ มักพบผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในวัยกลางคนขึ้นไปถึงวัยสูงอายุ เพศชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และเพศหญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป2. เพศ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง3. พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเดียวกันป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดร่วมด้วย โดยเฉพาะคนในครอบครัวที่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยกลางคนขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้ร่วมด้วย4. โรคประจำตัว หรือโรคที่พบร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน เป็นต้น 5. […]
Tag Archives: โรคผู้สูงอายุ
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ภัยเสี่ยงที่ลูกหลานต้องระวัง โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นโรคที่พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมีผลมาจากสภาพลักษณะทางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขนาดใหญ่เป็นครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่เพียงลำพังมากขึ้น และหากลูกหลานไม่ได้สนใจหรือให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุเท่าที่ควร โรคซึมเศร้าอาจมาเยือนได้โดยไม่ทันได้ตั้งตัว ทั้งนี้โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้านกับสถานการณ์โรคระบาดของ COVID 19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนานๆ อย่างไรก็ตามโรคนี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาได้ ดังนั้นหากผู้สูงอายุที่บ้านได้รับการดูแลที่ถูกต้อง มีลูกหลานที่ให้ความสำคัญ มีความรู้ความเข้าใจ สามารถเตรียมพร้อมป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที โรคซึมเศร้าก็จะไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่น่ากังวลใจอีกต่อไป สาเหตุและความเสี่ยงของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่ส่งผลกับสภาพจิตใจ เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่นตามกาลเวลา ทำให้เกิดความกังวลใจว่าจะไม่สวยหล่อ หรือดูดีเช่นเดิม เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทำให้อารมณ์แปรปรวนจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ทำให้ง่ายต่อการทะเลาะและมีปากเสียงกับลูกหลาน การเปลี่ยนแปลงของพละกำลังที่มีน้อยลง เดินได้ช้าลง หยิบจับของได้ไม่สะดวกเช่นเดิม ทำให้ขัดใจ และไม่สามารถข่มใจให้เย็นลงและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ มีการเจ็บป่วยทางกายจนทำให้เกิดการเจ็บป่วยทางใจตามมา มีโรคประจำตัวหรือมีปัญหาสุขภาพที่ต้องพึ่งพาลูกหลาน จนทำให้รู้สึกเป็นภาระของลูกหลาน ไม่ได้ทำงานประจำ ทำให้เริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ลูกหลานไม่เข้าใจและไม่ให้ความสนใจ ทำให้รู้สึกน้อยใจและคิดว่าไม่มีใครต้องการ ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านมากขึ้น ในขณะที่ลูกหลานมีภาระนอกบ้าน ทำให้ไมีมีเวลาสำหรับกิจกรรมในครอบครัว เป็นโรคซึมเศร้ามาตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยชรา 5 วิธีง่าย ๆ ในการเอาชนะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ได้ผลดี เข้าใจและตระหนักว่าผู้สูงอายุที่บ้าน คือ บุคคลที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เข้าใจธรรมชาติของผู้สูงอายุที่อาจมีอารมณ์แปรปรวนจนทำให้บางคำพูดและการกระทำนั้นเกิดขึ้นโดยไม่สามารถควบคุมได้ […]
วิธีดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้ห่างไกล COVID-19 เคล็ด(ไม่)ลับที่ลูกหลานควรรู้ โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือเจ้า COVID-19 ที่กำลังระบาดอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ มาตรการต่าง ๆ ถูกนำออกมาใช้เพื่อให้พวกเราพ้นจากการรับเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าหากได้รับเชื้อเข้าไปจะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป วันนี้เราจึงมาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่ลูกหลานควรรู้ และนำไปปฏิบัติเพื่อดูแลและป้องกันตัวเอง รวมถึงคนที่คุณรักให้ห่างไกลจากเจ้าไวรัสไวร้ายนี้ ทำไมผู้ป่วยเบาหวานถึงมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป? นั่นก็เพราะ เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่นี้จะมีผลต่อภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันที่ลดลง และเป็นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ง่าย ผู้ป่วยเบาหวานถ้าไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ จะส่งผลให้ร่างกายรับเชื้อได้ง่าย และเมื่อผู้ป่วยเบาหวานได้รับเชื้อแล้วจะแสดงอาการที่รุนแรงว่าคนทั่วไป ทั้งนี้เพราะโคโรนาไวรัสนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงนั่นเอง วิธีรับมือกับ COVID-19 สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ลูกหลานควรทำ หมั่นชวนท่านออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ดีและแข็งแรง ย้ำให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะจะส่งผลดีต่อภูมิคุ้มกัน หมั่นตรวจและดูแล รวมถึงควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ หมั่นพาไปชั่งน้ำหนักตัวเพื่อสังเกตอาการทุกวัน เพราะหากทานอาหารปกติ แต่น้ำหนักตัวลด ก็เป็นไปได้ที่ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะน้ำมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด กักตุนอาหารประเภทน้ำตาลไว้ที่บ้าน เผื่อในกรณีน้ำตาลตก หรือระดับน้ำตาลในเลือดน้อยจะได้รักษาได้ทันท่วงที ควรตรวจสอบปริมาณยารักษาโรคเบาหวานของผู้ป่วยว่ามีจำนวนเพียงพอในช่วงกักตัว COVID-19 นี้หรือไม่ วิธีดูแลและป้องกันผู้ป่วยเบาหวานให้ห่างไกลจาก COVID-19 วิธีดูแลนี้เป็นวิธีเดียวกับที่ทั่วโลกรณรงค์ให้ทุกคนควรปฏิบัติ ดังนั้น ทั้งคนดูแลและคนป่วยควรร่วมมือกันปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้ ขยันล้างมือเป็นประจำสม่ำเสมอ และตลอดเวลาที่สัมผัสสิ่งของหรือบุคคล ละเว้นการใช้มือสัมผัสบริเวณใบหน้า อวัยวะที่ง่ายต่อการรับเชื้อทางตรงอย่าง […]
ปัญหากระดูกสันหลังเสื่อมในผู้สูงอายุถูกพบมากขึ้นเรื่อย ๆ GenGrand จึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับโรคกระดูกสันหลังเสื่อม เพื่อสังเกตอาการและเตรียมตัวรับมือกันครับ