เมื่อพูดถึงการดื่มนม บางคนคิดว่าเป็นเรื่องของเด็ก วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว ความจริงแล้ว การดื่มนม สำคัญกับวัยเก๋าด้วยครับ เมื่อเราก้าวเข้าสู่วัย 60 ปี เราเริ่มมีผมหงอก ผมบาง กล้ามเนื้อลดลง ผิวเหี่ยว หูตึง ฟันผุ ฟันหลุด แต่ เราสามารถชะลอความชรา และเป็นผู้สูงวัยที่สดชื่น สดใสได้หลายวิธี บางครั้งมีผู้แนะนำเรื่องการออกกำลังกาย แต่การออกกำลังกายต้องทำควบคู่ไปกับการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนด้วย วิธีที่ง่ายๆวิธีหนึ่งที่จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน นั่นคือ การดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว แล้วเราจะเลือกดื่มนมอย่างไรให้เหมาะสม ถ้าไม่เคยดื่มมาก่อนควรทำอย่างไร การดื่มนมในผู้สูงวัยมีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึง เป็นสิ่งที่เราควรรู้ เพื่อเลือกนมที่เหมาะสมสำหรับสูงวัย การดื่มนมของผู้สูงวัยมีข้อควรคำนึงถึงดังนี้ 1. หากเราไม่เคยดื่มนมวัวมาก่อน หรือนานๆดื่มที เราอาจไม่มีน้ำย่อยเพื่อย่อยนมวัว แต่ไม่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถดื่มนมได้ เรายังสามารถดื่มนมวัวได้ แต่ควรเริ่มดื่มครั้งละน้อยๆ เช่นเริ่มจากดื่มครั้งละ 1-2 อึก หรือเลือกผลิตภัณฑ์นมที่ปราศจากน้ำตาลแลกโตส และอาจเริ่มด้วยการรับประทานโยเกิร์ตปริมาณน้อยๆก่อน ทำเช่นนี้จนไม่มีอาการปวดท้อง ไม่ท้องเสีย แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณนมที่ดื่มจนดื่มได้ครบแก้ว 2. นมที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย ควรเป็นนมที่มีพลังงานและไขมันน้อย ผ่านกระบวนการที่ทำให้ปริมาณไขมันลดลง เนื่องจากผู้สูงวัยไม่ต้องการใช้พลังงานมากเท่าวัยเด็ก และระบบการเผาผลาญก็มีประสิทธิภาพน้อยลง ดังนั้น ปริมาณไขมันจึงเป็นข้อสำคัญที่ควรจะพิจารณาในการเลือกดื่มนม ควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนย ในน้ำนม 1 แก้ว ปริมาตรประมาณ 200 มิลลิลิตร […]
Tag Archives: อาหารผู้สูงอายุ
ในช่วงเทศกาลปีใหม่แบบจีน กิจกรรมที่ขาดไม่ได้เลยคือการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ รวมญาติ และท่องเที่ยวเฉลิมฉลอง และในทุกกิจกรรมที่กล่าวมา มักมีเรื่องอาหารการกินแฝงอยู่ เราควรดูแลควบคุมอาหารและโภชนาการของสูงวัย ในช่วงเทศกาลตรุษจีน GenGrand ได้รวบรวมอาหารมงคล 9 อย่างที่นอกจากกินแล้วเฮง ยังกินแล้วได้สุขภาพที่ดีอีกด้วย ปลา คำว่าปลาในภาษาจีนนั้นออกเสียงคล้ายกับคำว่า มีเหลือกิน เหลือเก็บ ชาวจีนจึงเชื่อว่าปลาเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ความมั่งคั่ง กินแล้วทำให้มีเหลือกินเหลือใช้ตลอดปี โดยปลานั้นต้องปรุงทั้งตัว มีครบทั้งหัวและหาง เนื้อปลาเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ผัก ชาวจีนนิยมนำผักที่มีชื่อมงคล 7 ชนิดมาผัดหรือต้มจับฉ่ายเช่น ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว กะหล่ำปี ต้นกระเทียม หัวไชเท้าและขึ้นฉ่าย มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสายตาและบำรุงโลหิต ชะลอความเสื่อมของอายุสมอง สาหร่ายทะเลสีดำ เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ร่ำรวย สาหร่ายเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆเช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ ลดการอักเสบ เห็ดหอมหรือเห็ดชิตาเกะ ชาวจีนถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะเพราะคุณประโยชน์มากมายที่มีอยู่ในเห็ดหอม หมายความถึง การอวยพรให้เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ เห็ดชิตาเกะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็ง เกาลัด มีความหมายถึงเงิน เกาลัดเป็นพืชจำพวกถั่ว เต็มไปด้วยวิตามินบี เป็นอาหารที่เหมาะกับผู้สูงอายุเพราะช่วยบำรุงไต บำรุงเลือด ส้มสีทอง ในภาษาจีนแปลว่าโชคดี มีกินมีใช้ […]
อาหาร คือ ปัจจัยหลัก และเป็นปัจจัยสำคัญของทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่อยากมีภาวะสมองเสื่อมไว แนะนำว่าควรกินอาหารเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ 1.ข้าวกล้องและธัญพืชไม่ขัดสี มีคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงาน ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง มีวิตามิน บี1 ที่ช่วยบำรุงสมองและในข้าวกล้องและธัญพืชไม่ขัดสี ยังมีสารสื่อประสาทอย่าง เซโรโทนิน ช่วยบำรุงสมอง และทำให้นอนหลับง่าย ตัวอย่างธัญพืชอื่นๆ ที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย ได้แก่ วอลนัต (Walnuts) มีกรดไขมันอัลฟา อิลโนเลอิก (Alpha-linolenic) ในปริมาณสูง มีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิตและช่วยปกป้องหลอดเลือดแดง ซึ่งส่งผลดีแก่สุขภาพหัวใจและสมอง มีกรด DHA ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของสมองในส่วนความคิด 2.ปลาทุกชนิด โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก มีโปรตีนช่วยซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และยังมีไขมันต่ำ และกรดไขมันที่ช่วยบำรุงสมองอย่าง โอเมก้า-3 ซึ่งผู้สูงอายุควรกินทั้งปลาน้ำจืด และน้ำเค็มสลับหมุนเวียนกัน อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรเลือกปลาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ หรือหลีกเลี่ยงการรับประทานปลาจากแหล่งเดียวกันติดต่อกันในปริมาณมาก หรือนานเกินไป เพื่อป้องกันสารปนเปื้อน เช่น ในปลาเลี้ยงอาจมีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต หรือในปลาทะเลอาจพบโลหะหนักอย่างสารปรอท 3.นมและผลิตภัณฑ์ของนม เป็นโปรตีนคุณภาพดีและมีแคลเซียมช่วยป้องกันโรคกระดูกบาง กระดูกพรุน ผู้สูงอายุควรดื่มนมจืดอย่างน้อยวันละ 1-2 แก้ว 4.ผักและผลไม้ ผักและผลไม้มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการทำลายเซลล์สมอง ลดการสะสมสารพิษในร่างกาย ช่วยปกป้องเยื่อสมองจากอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ การศึกษาสารอาหารจากบร็อกโคลีในฐานะอาหารบำรุงสมองพบว่า […]
“วัยเก๋า” กับการรับประทานอาหาร การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงวัยซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานและสารอาหาร ผู้ที่จัดเตรียมอาหารให้กับวัยนี้ จึงต้องมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการเป็นอย่างดี พลังงานและสารอาหารของผู้สูงวัยแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน แนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ พลังงาน (กิโลแคลอรี) ต่อวัน กลุ่มอาหาร 1,400 1,600 1,800 ชาย-หญิง ชาย-หญิง ชาย-หญิง (กิจกรรมเบามาก) (กิจกรรมเบา) (กิจกรรมปานกลาง) ข้าวแป้ง (ทัพพี) 5 7 9 ผัก (ทัพพี) 4 4 4 ผลไม้ (ส่วน) 1 1 2 เนื้อสัตว์ (ช้อนกินข้าว) 6 7 8 ถั่วเมล็ดแห้ง (ช้อนกินข้าว) 1 1 1 นม (แก้ว) 2 2 2 […]