อาหารที่ดีต่อสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ

“วัยเก๋า” กับการรับประทานอาหาร

การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงวัยซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานและสารอาหาร ผู้ที่จัดเตรียมอาหารให้กับวัยนี้ จึงต้องมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการเป็นอย่างดี
พลังงานและสารอาหารของผู้สูงวัยแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน

แนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ

พลังงาน (กิโลแคลอรี) ต่อวัน
กลุ่มอาหาร1,4001,6001,800
ชาย-หญิงชาย-หญิงชาย-หญิง
(กิจกรรมเบามาก)(กิจกรรมเบา)(กิจกรรมปานกลาง)
ข้าวแป้ง (ทัพพี)579
ผัก (ทัพพี)444
ผลไม้ (ส่วน)112
เนื้อสัตว์ (ช้อนกินข้าว)678
ถั่วเมล็ดแห้ง (ช้อนกินข้าว)111
นม (แก้ว)222
น้ำ (แก้ว)888
ไขมัน (ช้อนชา)666
น้ำตาล (ช้อนชา)666

7 เคล็ดไม่ลับ ในการเตรียมอาหารให้ “วัยเก๋า”

  1. ปรุงสุกใหม่: เลือกอาหารปรุงสุกใหม่หรืออุ่นอาหารให้ร้อนก่อนเสมอ ทำให้อาหารมีความน่ากินมากยิ่งขึ้น
  2. อาหารอ่อนนุ่ม เคี้ยว กลืน ได้ง่าย: ควรนำผัก เนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ไปต้มหรือตุ๋น เพื่อให้เปื่อยจะได้รับประทานได้ง่ายขึ้น
  3. เลี่ยงอาหารรสจัด: ไม่เลือกอาหารที่มีรสชาติหวานจัด เค็มจัด สามารถใช้เครื่องเทศ หรือสมุนไพร เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติ ในการช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้
  4. แบ่งอาหารออกเป็นหลายมื้อ: ควรมีการวางแผนการจัดอาหารทั้งอาหารหลักและอาหารว่างให้มีความหลากหลายโดยเน้นให้มีผักและผลไม้ที่ย่อยง่ายเป็นหลัก
  5. เพิ่มนมรสจืดหรือนมพร่องมันเนยไปในมื้ออาหาร: ถ้าแพ้นมสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลือง เพื่อเพิ่มแคลเซียมให้กับผู้สูงอายุ
  6. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ: งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน

ที่มา:

  • www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/nutrition/
  • biomedhealthinnovation.com/อาหารสำหรับผู้สูงอายุ/
  • samyan-mitrtown.com/2021/08/30/ข้อควรรู้-การจัดอาหารที/
  • adminis.redcross.or.th/โภชนบัญญัติ-9-ประการ/